0
๑. ด้านเศษฐกิจ
๑. พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูกทำการเกษตร
๒. ประชาชนส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง
๓. มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค
๔. มีปราชญ์ชาวบ้านที่ให้คำแนะนำแก่ประชาชนได้
๕. ประชาชนมีนิสัยขยันขันแข็ง
๖. มีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สะดวก รวดเร็ว
๗. มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยว ( ถ้ำ วัด ถ้ำน้ำร้อน ถ้ำน้ำเย็น ) จึงมี
ศักยภาพด้านการสนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
๒. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๑. หน่วยงานของรัฐบาลทุกระดับให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๒. มีแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการ อุปโภคบริโภคได้
๓. เส้นทางการคมนาคมสะดวกในการติดต่อกับจังหวัด อำเภอ
๓. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
๑. ประชาชนให้ความสำคัญกับสุขภาพอนามัย
๒. ประชาชนให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
๓. ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยโรคระบาดร้ายแรง
๔. ด้านการศึกษา
๑. ประชาชนมีค่านิยมใฝ่เรียนรู้
๒. บุคลากรมีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ให้มีศักยภาพใน
การดำเนินงานด้านการศึกษาสูงขึ้น
๓. มีโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลจำนวน 6 โรง และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถรองรับเด็กในพื้นที่ได้
๕. ด้านการเมืองการบริหาร
๑. การจัดแบ่งโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลมีความชัดเจน ครอบคลุมอำนาจหน้าที่ทุก
ภารกิจและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามภารกิจที่ได้รับเพิ่มขึ้น
๒. มีแผนพัฒนาที่ชัดเจน
๓. มีการมอบอำนาจการบริหารงานตามลำดับชั้น
๔. ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถกำหนดนโยบายได้เองภายใต้กรอบของกฎหมาย
๕. มีข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นของตนเองซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น
๖. มีระเบียบและกฎหมายที่เอื้อต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
๗. สภาองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถออกข้อบัญญัติได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย
๘. สามารถจัดกรอบอัตรากำลังได้เองตามภารกิจและกำลังงบประมาณ
๙. ผู้บริหารและฝ่ายนิติบัญญัติได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทำให้เข้าใจปัญหาและความต้องการของ
ประชาชน
๑๐. มีรายได้จากการจัดเก็บเป็นของตนเองทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารงาน